HERITAGE ARCHITECTURES & CREATIVE ECONOMICS
Guidelines and Challenges in Opening a Boutique Hotel

ด้วยประสบการณ์ทั้งแบบทำถูกและทำผิด คนที่ทำโรงแรมจากการกอบกู้อาคารโบราณอายุ 120 ปี ณ ริมแม่น้ำเจ้าพระยามาเมื่อสิบกว่าปีก่อน โรงแรม arumirite (อะไรมิรุ) ที่ถนนเข้าไม่ถึง ทุกอย่างต้องมาทางเรือ ตั้งแต่ตะปู 1 ดอก จนถึงไม้ล้อมขนาดใหญ่จำนวนเป็นร้อยจากปราจีนบุรี ลงมือบูรณะยาวนานถึงสองปี สถาปนิกผู้บูรณะจากไป มีหนี้ค้างผู้รับเหมา ไม่มีเงินสดสำรอง แต่จำต้องเร่งเปิดขึ้นมาเป็น concept boutique hotel ที่ไม่มีใครรู้จักเลย เปิดได้ไม่ถึงปี น้ำท่วมกรุงเทพฯ ปี 2554 ชั้นล่างทั้งหมดกลายเป็นหลุมดำ น้ำท่วมถึงทั้งตึก จอดเรือที่หน้ามุขชั้นบนได้เลย
. ในฐานะที่คัดเลือก บูรณะ และบริหารโรงแรมตัวเองมาตั้งแต่แหวกหญ้าเข้าไปพบตึกร้างริมแม่น้ำ ผ่านการมองเห็นถึงความดีงามด้านการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม ประกอบด้วยความเป็นไปได้ด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ลงมือบูรณะ พบปัญหา อุปสรรค และอยู่กับการแก้ปัญหาทั้งรูปธรรมและนามธรรมมาตลอดจนถึงปี 2562 .. นับได้เกิน 10 ปี เรามีหน้าที่คือต้องเอาความจริงมาพูดกัน ธุรกิจเริ่มจากความฝันอย่างเดียวไม่พอ
หากอยู่ตรงนี้ แล้วฝันจะไปตรงนั้น กระบวนการ ความพร้อม และขวากหนามมีอะไรบ้าง คนรุ่นก่อนๆ ไม่ได้เกิดก่อนเพื่อจะสอนให้เห็นแค่โลกสวย จึงมีโอกาสได้ทบทวนและเล่าให้รุ่นหลังๆ ฟังว่า ในฐานะเจ้าของกิจการและคนทำงาน ต้องผ่านอะไรมาบ้าง กว่าจะได้รับคัดเลือกจากสมาคมสถาปนิกสยาม ให้เข้ารับพระราชทานรางวัล อาคารอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น รางวัลพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ ประจำปี พศ. 2556

กว่าจะเข้าไปเป็น 2 shortlisted properties สุดท้าย และได้รับหนังสือชมเชยจาก UNESCO Asia Pacific Conservation Award ซึ่งผู้ที่ได้รับรางวัลเหรียญทองในปีนั้นคืออาคารพาณิชย์ถนนหน้าพระลาน โดยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ต่อมาคือรางวัล KTC Thailand Boutique Awards : Gold Award In Cultural and Thematic และ Gold Award In Creative Concept : 2 ปี ติดต่อกัน รวม 3 รางวัล ได้ลง CNN Go และ New York TIMES แบบที่เขามากันเมื่อไหร่ก็ไม่ได้บอกให้เรารู้ตัว มาทราบก็วันที่เขาลงเรื่องของเราแล้ว
ส่วนงานด้าน heritage culinary ก็ได้รับเกียรติจากหนังสือพิมพ์ Bangkok Post ให้เป็น Thailand Top 10 Tables ประจำปี 2011
ก่อนที่ทีมปัจจุบันจะได้รับรางวัล MICHELIN PLATE จากเมนู "แกงรัญจวน" ที่ถูกนำกลับมาตั้งแต่วันแรกที่เปิดบริการอาหารไทยโบราณ ขึ้นที่ Praya Dining เมื่อปี 2552
นั่นคือโรงแรมเล็กๆ จากซากอาคารริมน้ำ ที่ไม่มีใครเคยรู้จักมาก่อน ถนนเข้าไม่ถึง เป็นหนี้เกินสิบล้าน นำ้ท่วมถึงชั้น 2 และแบงค์ไม่เคยนำพา ...
เวิร์กช็อปครั้งนั้น ต้องขอบคุณน้องๆ รุ่นใหญ่ พันธมิตรตลอดกาล ในด้านงานอนุรักษ์และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ : คุณอ้าท จิรเทพ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา ผู้กำกับดูแลงานด้านสื่อสาร และ Former Spokeperson ธนาคารแห่งประเทศไทย ปัจจุบันดูแลการบริการนโยบายสาธารณะ ที่ Bolliger Company Thailand อาจารย์วิรัช ปัณฑพรรธนกุล สถาปนิกจาก Rice Popper Studio เจ้าของโรงแรมบูติค WhereDer จังหวัดอุดรธานี และอาจารย์หน่อง รศ.ดร.สุพิชชา โตวิวิชญ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้ริเริ่มหลายโครงการในย่านเมืองเก่า เช่น "ท่าเตียน ซิงตั้กลัค" "มนุษย์ปากคลอง" ฯลฯ อีกมากมาย .. ทุกคนมาเติมเต็มความรู้ในส่วนสำคัญที่ล้วนเป็นรากฐานรองรับความฝัน
..
ทั้งเรื่องกฎหมายอาคาร เกณฑ์แยกโรงแรม โฮสเทล เกสต์เฮ้าส์ / แหล่งเงิน การบริหารทุน และเงินต่างๆ เพื่อธุรกิจกับสมดุลชีวิต การตลาดวงการโรงแรม การสร้าง engagement / dialoque ระหว่างกัน รวมทั้งงานด้านครีเอทีฟในวิถีเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สำหรับกิจการ และเพื่อสนับสนุนความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของชุมชนในภาพรวมด้านต่างๆ
.
ขอบคุณและยินดีที่ได้รู้จักน้องทุกคน ที่มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
มีทั้งสถาปนิก จาก Rhode Island, Graphic designer, เจ้าของหมู่เรือนไทยคลองบางกอกน้อย, ฝ่ายการตลาด CBRE , 1 PhD ด้าน Cultural Management และนักการฑูตจากกระทรวงการต่างประเทศ
หลายคนอยากลงมือบูรณะบ้านโบราณที่ตกทอดมาแต่คุณปู่คุณย่า เพราะอยากให้คุณพ่อคุณแม่ได้เห็น property เก่าวัยเด็ก ได้รับการคืนชีวิตอีกครั้ง อยากให้คุณพ่อคุณแม่ได้มาฟังจังเลย

.
ความฝันในดวงตาของน้องๆ ทำให้ทีมผู้สอนย้อนมองเห็นตัวเองเมื่อยังเด็ก จึงตั้งใจว่าในฐานะทีมรุ่นพี่ ที่เรียนรู้มาก่อน พวกเราจะมุ่งหน้าถ่ายโอนความรู้ต่อไป - เพื่อให้คนไทยและสังคมของเราพึ่งตนเองได้ และเพื่อเมืองไทยจะพัฒนาต่อไปอย่างยั่งยืน